อนุทิน ให้สัมภาษณ์เผย แนวโน้มผู้ติดโควิดลดลง เป็นเพียงข้อมูลวิชาการ เท่านั้น ยืนยันทำงานสอดคล้องสถานการณ์ ไม่มีเรื่องใดที่จะถอดสิทธิที่ประชาชนเคยได้ นาย อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้สัมภาษณ์จากกรณที่ หมอยง หรือ นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า จำนวนผู้ติดเชื้อจะเริ่มลดลง
โดย อนุทิน ระบุว่า ข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลเชิงวิชาการ
โดยคณะแพทย์ทั้งหลาย ทั้งแพทย์จากมหาวิทยาลัย หรือสถาบันต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุขได้ประชุมร่วมกันตลอดเวลา โดยมาตรการและวิธีการต่างๆ ที่ออกมา ไม่ได้ออกมาจากการพิจารณาของคนใดคนหนึ่ง หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่เป็นความเห็นร่วมกัน ที่จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกภาคส่วน ทั้งนี้ประชาชนต้องได้ประโยชน์และความปลอดภัยสูงสุด ขณะที่รัฐบาลต้องใช้งบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเช่นกัน เพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจว่าการรักษาพยาบาล และมีทรัพยากรเพียงพอ ทั้งยา เตียง แพทย์ เจ้าหน้าที่และบุคลากร
นายอนุทิน กล่าวว่า สำหรับการปรับวิธีการทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นปัจจุบันมากที่สุด ไม่มีเรื่องใดที่จะถอดสิทธิที่ประชาชนเคยได้ แต่เป็นการปรับวิธีเพื่อให้เกิดความมั่นคง และเข้มแข็งของระบบสาธารณสุขให้มากที่สุด
ในส่วนของโอกาสที่จะปรับให้ โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่นได้เร็วขึ้นหรือไม่ นายอนุทิน กล่าวว่า เป็นเรื่องทางวิชาการ การแพทย์ และวิทยาศาสตร์ส่วนฝ่ายนโยบาย คือรัฐบาล รัฐมนตรี และทางกระทรวงสาธารณสุข พร้อมให้การสนับสนุนข้อเสนอที่บุคลากรการแพทย์ และบุคลากรสาธารณสุข ขอรับการสนับสนุนทุกรูปแบบอยู่แล้ว ซึ่งปฏิบัติเช่นนี้มาตลอด เพื่อดูแลประชาชนให้เข้าถึงยาและวัคซีน รวมทั้งการบริหารจัดการสถานพยาบาล สามารถรองรับกับสถานการณ์ติดเชื้อปัจจุบันได้
กองทัพ รัสเซีย ยูเครน ใครเหนือกว่ากัน ? หนึ่งในคำถามที่หลายคนสงสัย เกี่ยวกับสงครามที่เกิดขึ้นในปี 2022 ว่าใครจะได้เปรียบกว่ากัน ท่ามกลางไฟสงครามที่เกิดขึ้นในทวีปยุโรป ระหว่าง 2 ประเทศซึ่งมีประวัติศาสตร์ภูมิหลังร่วมกันมาอย่างยาวนาน วันนี้ The Thaiger Thailand เลยรวบรวมเอาคำตอบ มาไขทุกข้อข้องใจ พร้อมคำอธิบายที่เข้าใจได้ง่าย จะเป็นยังไง ไปติดตามพร้อมกันได้เลยจ้า
กลายเป็นข่าวดังไปทั่วทั้งโลก ท่ามกลางความวิตกกังวลของหลายประเทศ เกี่ยวกับกรณีสงครามขนาดย่อม ระหว่างรัสเซียและยูเครน เพราะทั้ง 2 ประเทศถือว่า มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมโลกไม่น้อยเลย แถมยังมีความแตกต่าง ในเรื่องของกองกำลังทหารพอสมควร ทั้งนี้ The Thaiger เลยอยากรวบรวมเอา ข้อแตกต่างทางแสนยานุภาพของทั้ง 2 ประเทศ ทั้งในแง่ของอาวุธและกำลังพล มาฝากทุกคนกัน
ย้อนอดีต ความสัมพันธ์ รัสเซีย – ยูเครน
ทราบรายละเอียดกองกำลังของทั้ง 2 ประเทศกันไปแล้ว ก็มาย้อนรอยอดีตของทั้งคู่กันบ้างดีกว่า ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่เคยทราบว่า ความจริงแล้วในอดีต ยูเครนเคยเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียมาก่อน แต่เมื่อถึงช่วงเวลาที่ราชวงศ์โรมานอฟล่มสลาย ยูเครนจึงได้ขอแยกตัวออกมาเป็นประเทศ โดยมีผู้ให้การสนับสนุนหลักคือประเทศเยอรมนีนั่นเอง แต่พอเวลาผ่านไป เยอรมนีกลายเป็นผู้แพ้สงครามโลก ทำให้สถานภาพของยูเครนสั่นคลอน และเมื่อมีการจัดตั้งสหภาพโซเวียตขึ้น ยูเครนจึงถูกนับรวมเป็นสมาชิกในทันที และกลายเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
เวลาผ่านเลยไป สหภาพโซเวียตที่ครั้งหนึ่งเคยมีอิทธิพลต่อโลก และกินพื้นที่กว่า 1 ใน 6 ของพื้นที่ทั้งหมด ก็ถึงคราวต้องล่มสลายลงในช่วงปี 1991 เป็นเหตุให้ยูเครนในขณะนั้น แยกตัวออกมาเป็นเอกราชได้สำเร็จ และได้วางตัวเป็นรัฐกลาง เพื่อสร้างข้อจำกัดทางทหารกับรัสเซียและประเทศอื่น ๆ แต่สิ่งที่ยูเครนได้รับกลับมาจากการเข้าร่วมสหภาพโซเวียตยังคงหลงเหลือไว้ นั่นก็คือหัวรบนิวเคลียร์ จำนวนกว่า 1,250 หัว ที่กลายมาเป็นข้อพิพาทสำคัญในเวลาต่อมา
เนื่องจากนานาชาติต้องการให้ทำลายทิ้ง เพราะกลัวจะเป็นภัยต่อความมั่นคง แต่ในขณะเดียวกัน ชาวยูเครนบางส่วนกลับมองว่า นี่คือข้อต่อรองชั้นดีที่จะทำให้ยูเครนปลอดภัยจากการถูกรุกราน จนต่อมาได้มีการเซ็นสนธิสัญญา ข้อตกลงบูดาเปสต์ เพื่อเป็นคำมั่นให้ยูเครนกำจัดหัวรบทิ้ง แลกกับเอกราช และเศรษฐกิจที่เดินหน้าต่อไป ท่ามกลางความคิดเห็นที่แยกเป็นสองฝ่ายของประชาชนทั่วประเทศ
แม้ว่ายูเครนจะได้รับเอกราชอย่างเป็นทางการแล้ว แต่ดูเหมือนการเมืองภายในประเทศนั้นจะมีความผันผวนอยู่ตลอดเวลา เพราะคนในประเทศได้แตกเสียงออกเป็น 2 ฝ่าย คือฝ่ายที่อยากเห็นการเติบโตของประเทศในทิศทางของตัวเอง และฝ่ายที่ยังฝักใฝ่รัสเซีย เนื่องจากมีความผูกพันในเชิงวัฒนธรรมและอดีตร่วมกันตั้งแต่ก่อนราชวงศ์โรมานอฟล่มสลาย ตลอดจนในช่วงรุ่งเรืองของสหภาพโซเวียต
ในส่วนของเศรษฐกิจก็ร้อนระอุไม่ต่างกัน เนื่องจากยูเครนเป็นประเทศรอยต่อระหว่างรัสเซียและทวีปยุโรป ทั้งยังมีท่อส่งก๊าซที่สำคัญ ซึ่งเป็นรายได้หลักของรัสเซียตั้งอยู่ด้วย การตัดสินใจทางการเมืองหรือเศรษฐกิจใด ๆ ของยูเครน จึงเป็นที่กังวลและจับตามองของรัสเซียเสมอ รวมถึงข้อตกลงที่ EU หรือ สหภาพยุโรป เสนอให้ยูเครนเข้าร่วมด้วยเช่นกัน
เนื่องจากรัสเซียต้องการให้ยูเครนอยู่กับตัวเองใน EAEU ซึ่งเป็นกลุ่มเศรษฐกิจของรัสเซียเช่นเดิม แต่นับเป็นโชคดีของรัสเซีย ที่ประธานาธิบดีคนก่อน ๆ ของยูเครนนั้นชื่นชอบฝั่งรัสเซียมากกว่า ทำให้วิคเตอร์ ยานูโควิช ประธานาธิบดีของยูเครนในปี 2014 ปัดตกข้อเสนอของ EU ทิ้งไป ท่ามกลางความไม่พอใจของประชาชนจำนวนมาก เพราะถือเป็นการทำลายโอกาสทางเศรษฐกิจและความหวังของคนรุ่นใหม่ในอนาคต และในปีเดียวกันนั่นเอง วิคเตอร์ ยานูโควิช ถึงคราวต้องลงจากตำแหน่ง และลี้ภัยไปอยู่รัสเซีย เนื่องจากเกิดการปฏิวัติและการลุกฮือขึ้นมาประท้วงของประชาชนทั่วประเทศ
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป