ภูเขาไฟ ปะทุบนเกาะใหญ่ของ ฮาวาย ผู้คนแห่ชมเป็นจำนวนมาก

ภูเขาไฟ ปะทุบนเกาะใหญ่ของ ฮาวาย ผู้คนแห่ชมเป็นจำนวนมาก

ภูเขาไฟ Kilauea บนเกาะใหญ่ของ ฮาวาย ได้ทำการปะทุขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงวันนี้ โดยได้มีผู้คนแก่เข้าชมปรากฏการณ์นี้เป็นจำนวนมาก แต่ทางการขอให้มีความระมัดระวังและจับตาดูอย่างใกล้ชิด เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ได้เกิดการปะทุขึ้นของ ภูเขาไฟ Kilauea ที่อยู่ตรงอุทยานภูเขาไฟฮาวายแห่งชาติ บนเกาะใหญ่ของหมู่เกา ฮาวาย และยังคงมีการปะทุอยู่เรื่อย ๆ จนถึงวันนี้ ซึ่งก็ถือว่าเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ จนมีผู้คนคนเข้ารับชมเป็นจำนวนมาก โดยในเวลานี้ทางการยังไม่ได้มีการควบคุมอย่างเข้มงวดแต่อย่างใด แต่ก็ได้มีการจับตามองความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด หากเกิดเหตุการณ์อะไรก็ตาม

โดยในชั่วโมงแรกของการปะทุนั้น 

ลาวาจากภูเขาไฟได้ทำการไหลลงไปยังแอ่งน้ำในบริเวณ ทำให้เกิดไอน้ำที่ลอยสูงขึ้นถึง 9 กิโลเมตร (30,000 ฟุต) ซึ่งแอ่งน้ำนี้ก็ได้ถูกค้นพบในช่วงปี 2019 ซึ่งก็ได้ถูกเติมมาอยู่เรื่อย ๆ จนถึงในปัจจุบัน

ซึ่งหน่วยงานสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐ ได้ออกมากล่าวถึงปรากฏการณ์นี้ว่า เนื่องด้วยการปะทุของภูเขาไฟนั้นเกิดขึ้นภายในแอ่งยุบของปากปล่องภูเขาไฟ ทำให้ยังไม่มีความจำเป็นในการดำเนินการอพยพ และถือว่ามีความเสี่ยงต่อผู้คนในระดับที่ต่ำ ในเวลานี้นั้นทางหน่วยงาน และนักวิจัยยังไม่สามารถประมาณการณ์ระยะเวลาของการปะทุได้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อใด

ทั้งนี้แล้วหน่วยงานบริการพยากรณ์อากาศได้ออกคำเตือนถึง การเกิดขึ้นขี้เถ้าจากการปะทุ ที่เมื่อมีการสัมผัสเป็นจำนวนมาก หรือเวลานานนั้น ก็อาจจะส่งผลต่อดวงตาและระบบหายใจได้

Jessica Ferracane โฆษกของอุทยานแห่งชาติ ภูเขาไฟฮาวาย นั้นได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว AP ว่า ปรากฏการณ์ดังกล่าวนั้น ถึงแม้ว่าจะดูน่าประทับใจนั้น แต่ก็ควรมีความระมัดระวัง และถือเป็นกิจกรรมที่สร้างความเสี่ยงต่อผู้คนได้

เธอได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงเวลานี้ได้มีผู้คนมาเข้ารับชมกันอยู่เป็นจำนวนมาก โดยทางอุทยานยังไม่ได้มีการควบคุมการรับชมของผู้คนที่ต้องการ แต่ก็ได้มีการพิจารณาเอาไว้แล้ว ขณะนี้ทางหน่วยงานได้มีการเตือนผู้คนให้มีการใส่หน้ากาก เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 เนื่องด้วยมีผู้เข้าชมบางคนไม่สวมใส่หน้ากากเข้ามารับชม

อีกทางหนึ่ง David Phillips โฆษกของหน่วยงานสังเกตการณ์ภูเขาไฟฮาวายนั้น ได้กล่าวว่า ในเวลานี้หน่วยงานได้ทำการเฝ้าระวังสถานการณ์ของภูเขาไฟที่มีการพัฒนาอย่าต่อเนื่อง และรวดเร็ว โดยก่อนหน้านี้ ในช่วงแรกที่ภูเขาไฟได้ปะทุนั้น ได้เกิดแผ่นดินไหวระดับ 4.4 ริกเตอร์ขึ้นเป็นระยะหนึ่ง ซึ่งในเวลานี้ก็ได้มีการส่งคำเตือนในการเฝ้าระวัง ในการจับตาดูการเปลี่ยนแปลงของภูเขาอื่น ๆ ในบริเวณหมู่เกาะอีกด้วย

โดย ภูเขา Kilauea นั้นถือว่าเป็นหนึ่งในบรรดาภูเขาไฟที่ยังคงมี “การทำงาน” ซึ่งมันเองเป็นอย่างนี้อยู่มาประมาณ 3 ทศวรรษได้แล้ว ครั้งล่าสุดที่มันปะทุนั้นได้เกิดขึ้นเมื่อปี 2018 โดยในคราวนั้นได้สร้งความเสียหายถึง 700 ครัวเรือน และปล่อยลาวาที่มีปริมาณมากพอจะจุลงสระว่ายน้ำโอลิมปิกส์ได้ถึง 320,000 สระเลยทีเดียว

สวทช. คืออะไร สวทช. อยู่ที่ไหน

สวทช. มีชื่อเต็มว่า “สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ” เป็นหน่วยงานในกำกับของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2534 ตาม พ.ร.บ.พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2534 เพื่อเป็นหน่วยงานที่บริหารกองทุนพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.)

สวทช. มุ่งผลักดันให้ประเทศไทยแข็งแกร่งและเจริญรุ่งเรืองบนเวทีเศรษฐกิจระดับโลก โดยการนำความสามารถอันเหนือชั้นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยให้ภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรมสามารถดำเนินงานได้ดี มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่ง สวทช. ได้ดำเนินงานผ่านการทำงานร่วมกันของศูนย์ทั้ง 5 ศูนย์แห่งชาติ ได้แก่

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) – มุ่งพัฒนางานด้านเทคโนโลยีชีวภาพ

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) – มุ่งพัฒนางานด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับวัสดุต่างๆ

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) – มุ่งพัฒนางานด้านอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) – มุ่งพัฒนางานด้านนาโนเทคโนโลยี

ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) – มุ่งวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีพลังงาน

ที่อยู่ของสวทช. : 111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

เจ้าหน้าที่แพทย์ในประเทศอังกฤษได้ออกมาตอบคำถามว่า ภูมิต้านทานโควิดอยู่ได้กี่เดือน? ย้ำเตือนผู้ที่มีภูมิต้านยังสามารถแพร่เชื้อไวรัสได้ เมื่อวันที่ 14 มกราคม สำนักข่าว อัลจาซีรา รายงานว่า นักวิทยาศาสตร์ใน ผู้เชี่ยวชาญหน่วยงานสาธารณสุขอังกฤษ หรือ PHE ได้ออกมาเปิดเผยว่า ผู้ป่วยโรคโควิด-19 สามารถผลิตภูมิต้านทานเชื้อไวรัสได้นานอย่างน้อย 5 เดือน

ทางเจ้าหน้าที่ยังระบุอีกว่า ผู้ที่มีภูมิต้านทาน ยังสามารถติดโควิดได้ แต่โอกาสต่ำมาก จากการตรวจสอบพบว่ามีเพียงแค่ผู้ป่วย 44 รายที่ติดเชื้อซ้ำ ซึ่งแพทย์ยังระบุอีกว่าผู้ที่ติดเชื้อซ้ำมีโอกาสน้อยที่จะมีการป่วยจากโรคโควิดอย่างรุนแรง

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป