ผศ.ดร.พงศกร กาญจนบุษย์ นักวิทย์ ม.มหิดล ทุนอัจฉริยภาพนักวิจัยรุ่นกลาง ปี 64 วช. วิจัยไฮเทค คิดค้นและพัฒนาประยุกต์ใช้วัสดุ “เพอรอฟสไกต์” ทำ จอประสาทตาเทียม ปลอดสารพิษ ม.มหิดล จอประสาทตาเทียม – วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือ ความหวังของมวลมนุษยชาติที่จะข้ามผ่านข้อจำกัดทางกายภาพของมนุษย์ซึ่งต้องเสื่อมถอยไปตามกาลเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถในการมองเห็น
ซึ่งปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้สามารถพัฒนาวัสดุที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับทดแทนจอประสาทตา (retina)
ด้วยคุณสมบัติพิเศษของวัสดุ “เพอรอฟสไกต์” พบว่าสามารถเปลี่ยนแสงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อใช้ตรวจจับหรือเป็นเซนเซอร์รับแสง เพื่อพัฒนาต่อเนื่องให้ส่งสัญญาณไปยังสมองได้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงศกร กาญจนบุษย์ อาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้คว้าทุนอัจฉริยภาพนักวิจัยรุ่นกลาง ประจำปี 2564 จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กล่าวในฐานะผู้มีผลงานวิจัยโดดเด่นด้านการพัฒนาวัสดุ “เพอรอฟสไกต์” เพื่อการใช้ประโยชน์ที่หลากหลายกล่าวว่า
วัสดุ “เพอรอฟสไกต์” เป็นสารกึ่งตัวนำที่ไวต่อแสงง่ายต่อการขึ้นรูป และมีประสิทธิภาพไม่ลดลงตามอุณหภูมิที่สูงขึ้น เหมาะสำหรับเมืองร้อนอย่างเมืองไทย ซึ่งวัสดุ”เพอรอฟสไกต์” สามารถใช้เคลือบบนกระจกและหน้าต่างทำให้สามารถลดความร้อนที่เข้ามาในอาคาร และสามารถผลิตไฟฟ้าได้ในเวลาเดียวกัน
โดยที่ผ่านมากำลังถูกพัฒนาในหลายมิติเพื่อนำมาใช้เป็นเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์สำหรับเมืองร้อน นอกจากนี้ ยังสามารถนำมาทำเป็นจอโทรทัศน์ จอมือถือ หรือแม้กระทั่งนำมาพัฒนาเป็นวัสดุสำหรับอุปกรณ์ตรวจจับต่างๆ รวมไปถึงวัสดุสำหรับทำเป็นจอประสาทตาเทียม โดยใช้หลักการเลียนแบบดวงตาจริงของมนุษย์ที่ใช้จอประสาทตารับแสงแล้วส่งสัญญาณไปยังสมอง
วัสดุ “เพอรอฟสไกต์” เหมาะที่จะนำมาทำเป็นวัสดุสำหรับจอประสาทตาเทียม เนื่องจากมีความไวต่อแสง และสร้างสัญญาณไฟฟ้าได้ แม้ในภาวะที่มีแสงต่ำ แต่ถ้าจะนำไปใช้จริงจะต้องเปลี่ยนสารตะกั่วซึ่งเป็นสารพิษและเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับ “เพอรอฟสไกต์” ให้เป็นสารชนิดอื่นก่อน เนื่องจากเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ต่อร่างกาย
โดยในเบื้องต้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงศกรกาญจนบุษย์ นักศึกษาระดับปริญญาเอก นางสาวพิมพ์สุดาภารสงัด และทีมงาน ได้เริ่มการทดลองเพื่อพัฒนาวัสดุที่เหมาะสมและจะนำไปทดลองใช้ในหุ่นยนต์ต่อไป โดยทีมงานได้รับการสนับสนุนจาก วช.ให้เริ่มพัฒนาวัสดุที่เหมาะสมในเฟสแรก
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้สามารถใช้ได้จริงในคนอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยในอนาคต ต้องมีความร่วมมือแบบบูรณาการข้ามศาสตร์ โดยใช้ความรู้ทั้งทางด้านวัสดุศาสตร์ อิเล็กทรอนิกส์ ชีวเคมี และการแพทย์ ฯลฯ
ซึ่งทีมงานได้เปิดรับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นๆ เพื่อนำไปสู่การทดลองใช้หุ่นยนต์ต่อไป ก่อนขยายผลไปพัฒนาเพื่อกับคนจริงในอนาคต
นักวิทย์ฯ เชื่อ โควิดแลมบ์ดา ไม่รุนแรงกว่าเชื้อสายเดลตา
นักไวรัสวิทยา ออกมแสดงความเห็นเกี่ยวกับ โควิดแลมบ์ดา ที่กำลังระบาดหนักในทวีปอเมริกาใต้ ว่าไม่ได้รุนแรงไปกว่าโควิดเดลตาอย่างที่มีการกล่าวอ้างกัน ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ไบโอเทค สวทช. ได้โพสต์ข้อความเฟซบุ๊กถึงโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา หรือสายพันธุ์ C.37 ซึ่งกำลังแพร่ระบาดหนักในภูมิภาคอเมริกาใต้ ซึ่งหลายฝ่ายแสดงความกังวลว่าโควิดสายพันธุ์ดังกล่าวจะสามารแพร่เชื้อได้เร็วและรุนแรงกว่าโควิดชนิดอื่นๆ
โดย ดร.อนันต์ ระบุว่า “สายพันธุ์เดลตายังไม่มีพ่อหรือแม่ ข่าวที่บอกว่าแลมบ์ดา คือ ตัวจริง คือ เลอะเทอะ ถ้าตัวพ่อมาจริงๆ จะบอก แต่ตอนนี้ไม่มีอะไรต้องกังวลไปมากกว่าเดลตา
พร้อมระบุด้วยว่า ตอนนี้ไม่มีข้อมูลอะไรเลยที่บ่งชี้ว่าไวรัสสายพันธุ์ แลมบ์ดา หรือ C.37 ที่พบในเปรูแพร่กระจายไวกว่า หรือรุนแรงกว่า เดลตา
ข้อมูลการกลายพันธุ์ของ แลมบ์ดา ก็ไม่มีอะไรที่น่ากังวลเท่ากับแอลฟา และเดลตา ถ้าคนที่ออกข่าวนี้ไปติดตามอ่านงานวิจัยล่าสุดของเปรูเอง หรือที่ทีม USA เพิ่งเอามาลงวันนี้ ไวรัสตัวนี้ยังหนีภูมิจากวัคซีนได้น้อยกว่าเดลตามาก ผลการทดลองจากเปรูที่ใช้วัคซีน CoronaVac ของ Sinovac ก็บอกว่าไวรัสตัวนี้หนีภูมิพอๆ กับสายพันธุ์แอลฟา ซึ่งภูมิจาก Sinovac เอาไวรัสตัวนี้อยู่แน่นอน”
ในปัจจุบันพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ดังกล่าวแล้วในอย่างน้อย 29 ประเทศทั่วโลก โดยเมื่อวานนี้กระทรวงสาธารณสุขมาเลเซียได้ออกแถลงการณ์เตือนว่า ไวรัสโควิดกลายพันธุ์ชนิดนี้มีความรุนแรงยิ่งกว่าสายพันธุ์เดลตาเสียอีก
อย่างไรก็ดี นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่า แถลงการณ์ข้างต้นมีความถูกต้องมากน้อยแค่ไหน ในขณะที่มีผลวิจัยทางการแพทย์ล่าสุดยืนยันว่า วัคซีนชนิด mRNA และค็อกเทลแอนติบอดีบางชนิด สามารถต้านทานเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดาได้
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป